สร้างเมื่อ : 17 พ.ย. 2566
1. ความหมายของ “ทะเบียนบ้าน”
ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารประจำบ้านซึ่งจะมีการแสดงรหัสประจำบ้าน รายชื่อคนที่อยู่ในบ้านทั้งหมด และจะสามารถบ่งบอกได้ว่าใครเป็นเจ้าบ้าน และใครเป็นผู้อาศัย ซึ่งทะเบียนบ้านนั้นจะแสดงรายละเอียดของแต่ละบุคคลอย่างละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อบิดา - มารดา, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วัน เดือน ปีเกิด ฯลฯ
การที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นมีทะเบียนบ้าน จะสามารถทำให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการธุรกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย กรณีจดทะเบียนสมรส รวมทั้งกรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ และต้องการมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จะต้องใช้เอกสารบ้างมาดูกัน
การขอทะเบียนบ้านของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น
ทะเบียนบ้านนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
1. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) สำหรับชาวต่างชาติ
ทะเบียนบ้านเป็นเอกสาร ระบุบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัยในบ้าน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคำร้องที่จะขอมีทะเบียนบ้าน สามารถจดทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือเขต ถ้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายการขอมีทะเบียนบ้าน ราคาไม่แพงแต่ต้องใช้เวลา
1. ความหมายของ “ทะเบียนบ้าน”
ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารประจำบ้านซึ่งจะมีการแสดงรหัสประจำบ้าน รายชื่อคนที่อยู่ในบ้านทั้งหมด และจะสามารถบ่งบอกได้ว่าใครเป็นเจ้าบ้าน และใครเป็นผู้อาศัย ซึ่งทะเบียนบ้านนั้นจะแสดงรายละเอียดของแต่ละบุคคลอย่างละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อบิดา - มารดา, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วัน เดือน ปีเกิด ฯลฯ
การที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นมีทะเบียนบ้าน จะสามารถทำให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการธุรกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย กรณีจดทะเบียนสมรส รวมทั้งกรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ และต้องการมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จะต้องใช้เอกสารบ้างมาดูกัน
การขอทะเบียนบ้านของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น
ทะเบียนบ้านนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน
1. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) สำหรับชาวต่างชาติ
ทะเบียนบ้านเป็นเอกสาร ระบุบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัยในบ้าน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคำร้องที่จะขอมีทะเบียนบ้าน สามารถจดทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือเขต ถ้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายการขอมีทะเบียนบ้าน ราคาไม่แพงแต่ต้องใช้เวลา
การออกทะเบียนบ้าน ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว แต่ละอำเภอจะมีกฎในการจดทะเบียนที่แตกต่างกัน หลักฐานทีเกี่ยวข้อง เช่น เอกสารที่ระบุตัวตน รวมถึงรูปถ่าย สำนักทะเบียนอำเภอบางแห่ง ต้องการหนังสือรับรองจากสถานทูตว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่บางอำเภอก็ไม่ต้องการ ดังนั้น หากจะขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จำเป็นต้องโทรศัพท์ติดต่อสำนักทะเบียนที่ท่านจะยื่นเรื่อง ว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจะมีการนัดสอบปากคำพร้อมพยาน
การเตรียมเอกสารกรณีชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย
-หนังสือเดินทางฉบับจริง
-สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
-ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
-ทะเบียนสมรส
-สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร)
-รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
-บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน
-บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส
-ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง
-สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ)
-พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
*คู่สมรสชาวไทยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น*
การเตรียมเอกสารกรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
-หนังสือเดินทางฉบับจริง
-สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย
-ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย)
-ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย
-หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23
-รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป
-พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
-เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด
-รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง
ยื่นเอกสารทั้งหมดให้สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ทำการตรวจสอบ และจะมีเจ้าหน้าที่แจ้งวันนัดสัมภาษณ์ ซึ่งการสัมภาษณ์จะเป็นสัมภาษณ์ด้วยภาษาไทย ถ้าชาวต่างชาติที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้จะต้องนำล่ามมาด้วย
สรุป
การที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นมีทะเบียนบ้าน จะสามารถทำให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการธุรกรรมอื่น ๆ อีกมากมายเลยครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.genie-property.com/blog
https://www.bangkokassets.com/articledetail/