บทความของเรา

05
MAR
Ideas for decorating your home to make it easy to sell your home in 2024
ไอเดียแต่งบ้านให้ขายบ้านง่ายในปี 2567 ปัญหาส่วนใหญ่ของคนที่ขายบ้านได้ยากก็คือ พอคิดจะขายแล้วก็ประกาศขายทันทีโดยไม่ได้ตรวจดูสภาพบ้านของตัวเองก่อนว่าเป็นอย่างไร อยู่อาศัยมานานหลายปีมันก็ต้องมีความทรุดโทรม และมีบางส่วนที่เสื่อมสภาพไปบ้าง ทำให้การขายบ้านทำได้ยากขึ้น ไอเดียแต่งบ้าน จึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่จะมาช่วยให้ขายบ้านได้ง่ายขึ้น ซึ่งวันนี้เราก็มีไอเดียแต่งบ้านดี ๆ มาแนะนำกัน 1. ไอเดียแต่งบ้านด้วยการใส่รายละเอียดให้พื้นที่บนผนัง – ไอเดียแต่งบ้านวิธีแรกก็คือ ปรับผนังให้เป็นพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์แนวตั้ง ด้วยการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวที่มีดีไซน์โดดเด่นเข้าไป เน้นความทันสมัย และเข้ากันได้กับสไตล์ของบ้านเป็นหลัก – ไอเดียแต่งบ้านวิธีต่อมาเป็นการใช้วัสดุปิดพื้นผิวเข้ามาช่วย จะเป็นวอลเปเปอร์ก็ได้ หรือจะเป็นงานหินเทียมก็ได้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่ต้องระวังหากเลือกใช้หินเทียมก็คือ อย่าเลือกแบบที่มีผิวสัมผัสหยาบและคมจนเกินไป จากความรู้สึกแปลกใหม่จะกลายเป็นความไม่สบายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 2. ไอเดียแต่งบ้านด้วยการใช้สีให้ตรงตามเทรนด์ ในขณะที่แต่ละคนมีความชื่นชอบในสไตล์การแต่งบ้านที่ไม่เหมือนกัน บางคนชอบสไตล์ลอฟ์ท (loft) บางคนชอบสไตล์วินเทจ (vintage) บางคนชอบแบบมินิมอล (Minimal) แต่คนส่วนใหญ่ก็มักอยากได้บ้านที่ให้ความรู้สึกน่าอยู่ ใช้งานได้จริง และเป็นระเบียบคล้ายๆ กัน ดังนั้นเป้าหมายของการแต่งบ้านเพื่อขาย จึงควรที่จะดึงดูดผู้ซื้อในวงกว้างได้  โดยปกติ ผู้ซื้อมักต้องการเห็นบ้านที่สว่าง ดังนั้นแสงมีความสำคัญในการแต่งบ้านเพื่อขายทีเดียว อย่าลืมเปิดผ้าม่านให้สุด เพื่อรับแสงแดดทำให้ห้องดูกว้างขึ้น และเช็คหลอดไฟทุกดวงว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ก่อนเปิดบ้านให้ผู้ซื้อเข้าชม ถ้าหลอดไฟของคุณเริ่มติดๆ ดับๆ ก็ถึงเวลาที่จะแทนที่หลอดเก่าด้วยหลอดไฟใหม่  3. ไอเดียแต่งบ้านด้วยการใช้เฟอร์นิเจอร์แบบมิกซ์แอนด์แมทช์ (Mix and Match) จุดที่แตกต่างระหว่างการขายบ้านมือหนึ่ง และมือสอง คือ บ้านมือหนึ่งโดยส่วนมากจะขายแบบที่เป็นบ้านเปล่า เพื่อให้ผู้ซื้อไปตกแต่งเอาเองตามไลฟ์สไตล์ ผู้ซื้อจะตรวจสอบในเรื่องของความสมบูรณ์ เช่น มีรอยร้าวหรือไม่ มีวัสดุหรือโครงสร้างในจุดไหนที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ กระเบื้องแผ่นไหนมีสีซีดจาง หรือแตกหักบ้าง บ้านมือสองโดยส่วนมากจะขายพร้อมกับการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์บางส่วน เพื่อสร้างภาพให้ผู้สนใจได้เห็นว่าบ้านหลังนี้มีฟังก์ชันการใช้งานแบบไหนบ้าง แล้วมันก็เป็นการชักชวนให้ผู้ที่เข้ามาดูจดจ่อกับรูปแบบของไอเดียแต่งบ้านมากกว่าเพราะฉะนั้นการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ดีจึงมีส่วนสำคัญมาก 4. ไอเดียแต่งบ้านด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ถ้าหากภายในบริเวณบ้านมีส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า สวนหย่อม หรือสวนกระถาง ก่อนจะประกาศขายบ้านก็ให้จัดการปรับปรุงสวนให้มันมีชีวิตชีวาขึ้นมาสักหน่อย อย่าปล่อยให้รกรุงรัง ต้นไม้ตรงไหนที่ดูเหี่ยวแห้งไปแล้วก็ควรขนย้ายออกไปแล้วหาต้นใหม่มาแทน แต่ถ้าพื้นที่บ้านมีบริเวณจำกัดจนไม่สามารถสร้างพื้นที่สีเขียวภายนอกได้ ก็ให้หาไม้กระถางสวย ๆ มาประดับไว้ตามมุมต่าง ๆ รอบตัวบ้าน เช่น วางโหลแก้วใส่พลูด่างเอาไว้ในห้องน้ำ วางกระถางไม้แคระไว้ที่มุมนั่งทำงาน แขวนกระเช้าดอกไม้ไว้ตามราวระเบียง 5. แต่งด้านนอกตัวบ้าน ความสวยงามภายนอก เมื่อมองจากนอกบ้านของคุณ ก็มีส่วนสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการแต่งบ้านเพื่อขาย เพราะมันเป็นสิ่งแรกที่ผู้สนใจซื้อจะเห็นเมื่อพวกเขาชมบ้านของคุณ พิจารณาทำสิ่งเหล่านี้  ขัดลานหน้าบ้าน และทางเดินของคุณให้เรียบร้อย ทำความสะอาดหน้าต่าง ตัดหญ้า ตัดแต่งต้นไม้ภายนอกบ้าน จัดวางที่เก็บรองเท้าให้เป็นระเบียบ ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.reic.or.th/Knowledge/SuggestionHome/2 https://www.ddproperty.com https://www.baanfinder.com/th/article/gbdl  
13
FEB
Leasehold vs Freehold
  Leasehold vs Freehold ลงทุนเเบบไหนใช่สำหรับคุณ Leasehold กับ Freehold แตกต่างกันอย่างไร Freehold หมายถึงอสังหาฯ ที่ผู้ถือครองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ Leasehold หมายถึงอสังหาฯ ที่ถือครองผ่านการจ่ายค่าเซ้ง เพื่อให้ได้สิทธิการเช่าระยะยาวภายในระยะเวลาที่กำหนด (ไม่เกิน 30 ปี) 1. คอนโด Leasehold คืออะไร คอนโด Leasehold คือ คอนโดที่มีการถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของตามกำหนดระยะเวลา ผู้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดังกล่าวต้องชำระค่าเช่าตามอัตราค่าเช่าที่กำหนดเป็นรายงวด เมื่อสัญญาคอนโดครบกำหนดสัญญาที่ทำไว้ กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของจะกลับคืนสู่ผู้ให้เช่าคอนโดทันที โดยคอนโด Leasehold มีลักษณะ ดังนี้ – เจ้าของต้องทำสัญญากับผู้ให้เช่าอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดถือครองกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ 30 ปี ตามกฎหมาย – เจ้าของอาจเรียกร้องขอจัดการเรื่องก่อสร้าง ต่อเติม หรือตกแต่งกับผู้ให้เช่าได้ตามสมควร – เจ้าของต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับบำรุงรักษา ค่าบริการรายปี รวมทั้งค่าประกันตึก – เจ้าของต้องจ่ายค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าตามกำหนดสัญญา – เจ้าของจะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าในการจัดการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์นั้น – เจ้าของอาจถูกจำกัดสิทธิตามข้อบังคับของผู้ให้เช่า – เจ้าของจะถูกยกเลิกสัญญาในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงของสัญญาเช่าคอนโด   2. คอนโด Freehold คืออะไร คอนโด Freehold คือ คอนโดที่มีการถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสินทรัพย์ตลอดไป กล่าวคือ ผู้ที่ลงทุนซื้อคอนโดแบบนี้จะได้สิทธิเป็นเจ้าของคอนโดแบบขาด ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของการเป็นเจ้าของคอนโด นอกจากนี้ ผู้ที่ลงทุนซื้อคอนโดแบบนี้ จะได้รับกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ดังนี้ – ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าตามกำหนดสัญญาใด ๆ – มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาสภาพอาคาร – ถือครองกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของตัวเอง ลงทุนคอนโด Leasehold หรือ Freehold แบบไหนเหมาะกับใคร จริง ๆ แล้ว การลงทุนคอนโดไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าแบบไหนดีกว่าหรือดีที่สุด จะมีก็แต่เหมาะสมและเข้ากับความต้องการของเรามากที่สุด การเปรียบเทียบด้านต่าง ๆ ของคอนโดประเภท Leasehold กับ Freehold อาจทำให้เห็นความแตกต่างที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนแต่ละคนได้ ดังนี้ หากคุณต้องการทำกำไรเยอะๆ ในระยะยาว Freehold อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีมากกว่า เพราะการซื้อขายขาด ไม่ว่าจะอีกกี่สิบปี อสังหาริมทรัพย์นั้นก็ยังเป็นของคุณ ซึ่งคุณสามารถหาวิธีทำกำไรเพิ่มได้อีกหลากหลาย ทั้งขายต่อและปล่อยเช่า ที่สำคัญกี่ปีผ่านไปที่ดินมีแต่จะราคาสูงขึ้น ยิ่งเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจหรือเขตเมืองชั้นใน เช่น สาทร สีลม รับรองเลยว่าซื้อขาดวันนี้ไป เพียงไม่กี่ปีราคาก็เติบโตไม่มีหยุด สำหรับ Leasehold เหมาะกับคนที่ต้องการจำกัดงบประมาณในกระเป๋า และเน้นมองหาคอนโดมิเนียมทำเลใจกลางเมือง เดินทางง่าย ต้องการไว้อยู่เองในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ต้องการส่งต่อเป็นมรดกให้กับคนอื่นๆ หรือไม่ต้องการสร้างภาระให้กับลูกหลาน อีกทั้งยังผ่อนได้ในราคาที่ต่ำกว่า การถือครองของชาวต่างชาติ – คอนโค Leasehold ถือครองได้ไม่จำกัด – คอนโด Freehold ถือครองได้อัตรา 49% จากจำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าสินทรัพย์ คอนโด Freehold จะมีแนวโน้มของมูลค่าสินทรัพย์จะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตตามแนวโน้มราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมากกว่าคอนโด Leasehold วันนี้ทางเพจของเราได้มานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนแบบ Freehold และ Leasehold ประกอบการขอจดทะเบียนหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะและทางเพจ The Property Center ยังมีบทความดีๆอีกมากมายสามารถเข้ามาอ่านกันได้ ทั้งนี้ลูกเพจท่านใดต้องการให้ทางต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวันปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ddproperty.com https://www.home.co.th/living/freehold-vs-leasehold-52550        
03
JAN
The process of obtaining a home construction loan requires what documents?
การกู้เงินสร้างบ้าน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง การกู้เงินสร้างบ้านนั้น ถ้าอยากให้ได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว เรื่องเอกสารเราจะต้องไม่พลาดค่ะ โดยเมื่อเราทำการยื่นพิจารณาขอสินเชื่อสร้างบ้าน แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากให้ธนาคารพิจารณาอย่างรวดเร็วว่าได้หรือไม่ ขั้นตอนนี้หากเราเตรียมเอกสารไว้ให้ครบถ้วน เมื่อยื่นธนาคารแล้วการพิจารณาอนุมัติก็จะรวดเร็วขึ้นได้นะค่ะ เพราะไม่ต้องมาขอเอกสารจากเราเพิ่มเติม แล้วเอกสารอะไรบ้างล่ะที่เราควรเตรียมให้พร้อมก่อนทำการกู้เงินสร้างบ้านมาดูกันค่ะ 1.เตรียมเอกสารสำหรับการกู้เงินสร้างบ้าน การกู้เงินสร้างบ้าน หรือกู้เงินทำบ้านนั้น นอกจากรายได้ของผู้กู้ที่ธนาคารจะต้องทำการประเมินในการปล่อยสินเชื่อแล้ว ก็ยังต้องมีรายละเอียดของการก่อสร้างอีกด้วย ซึ่งนอกจากเอกสารแสดงรายได้ อาทิ 1. สำเนาบัตรประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. สลิปเงินเดือน 4. สำเนาเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (บัญชีที่เงินเดือนเข้า) 5. หนังสือรับรองเงินเดือน ที่ระบุตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ระยะเวลาที่ทำงานมาแล้วกี่ปี 6. สำเนาบัญชีเงินสะสมอย่างน้อย 1 แสนบาทขึ้นไป หรือราว ๆ 10-15% ของมูลค่าบ้านที่จะก่อสร้าง นอกจากเอกสารข้างต้นแล้วการกู้เงินสร้างบ้าน ธนาคารยังจะต้องดูเอกสารชุดที่ 2 เพื่อประเมินมูลค่าการก่อสร้างบ้าน ประกอบไปด้วย 2. แบบบ้าน  เอกสารการกู้เงินสร้างบ้านอย่างแรกที่ต้องเตรียมให้พร้อมก็คือแบบบ้านหรือแปลนบ้าน เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินจะต้องพิจารณาราคาประเมินทรัพย์สินและประเมินราคาก่อสร้าง แม้เราจะยังไม่ได้สร้างบ้าน แต่เราก็ต้องส่งแบบบ้านหรือแปลนบ้านเพื่อให้ธนาคารประเมินมูลค่าออกมาว่าคือเท่าไร และจะให้กู้เท่าไรครับ อีกทั้งแบบบ้านหรือแปลนบ้านนี้จะต้องนำไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างจากสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนที่จะสร้างบ้านด้วยค่ะ 3. โฉนดที่ดิน อีกเอกสารสำคัญในการกู้เงินสร้างบ้านก็คือโฉนดที่จะต้องยื่นไปพร้อมกับแบบบ้าน เพื่อให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินพิจารณาราคาประเมินทรัพย์สินและประเมินราคาก่อสร้าง ซึ่งโฉนดที่ดินนี้อาจจะไม่ใช่ชื่อของเราก็ได้นะค่ะ แต่ต้องยื่นยันได้ว่าเราจะก่อสร้างตรงนี้ พื้นที่นี้จริง ๆ นั่นเอง 4. สัญญาว่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง การพิจารณาเรื่องงบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดจะสามารถดูได้จากสัญญาว่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งในการกู้เงินสร้างบ้านนั้นธนาคารจะของตัวสัญญานี้ไปดูครับว่าเป็นเงินเท่าไร เพื่อให้มั่นใจได้วว่าหากอนุมัติให้กู้แล้วเงินจะไปอยู่ที่ค่าก่อสร้างจำนวนเท่านี้จริงๆ ตามที่สัญญาระบุไว้ 5. ใบอนุญาตการก่อสร้าง อีกหนึ่งเอกสารสำคัญที่จะต้องส่งในการกู้เงินสร้างบ้านก็คือ ใบอนุญาตการก่อสร้าง ซึ่งสามารถขอได้สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะก่อสร้างบ้าน โดยเอกสารใบอนุญาตการก่อสร้างนี้จะแสดงให้เห็นว่าผู้กู้มีจะมีการก่อสร้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย และประกันว่าการก่อสร้างบ้านจะไม่เกิดปัญหาอะไรที่อาจกระทบต่อการกู้เงินสร้างบ้านที่ทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะอนุมัติสินเชื่อสร้างบ้านให้ 6. เอกสารส่วนบุคคล ต่อมาเป็นเอกสารส่วนบุคคลของเราค่ะที่เราเตรียมง่ายมากๆ แต่ต้องหามาให้พร้อมก่อนการกู้เงินสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรรัฐวิสาหกิจ สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า หรือใบมรณะบัตร (ถ้ามี) หากเคยเปลี่ยนชื่อมาแล้ว จะต้องมีสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล หากแต่งงานแล้วจะต้องเตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส 7. เอกสารทางการเงิน นอกจากเอกสารส่วนบุคคลของเรา และเอกสารเกี่ยวกับบ้านที่เราจะกู้แล้ว เรื่องเอกสารทางการเงินก็เป็นสำคัญในการกู้เงินสร้างบ้านเช่นเดียวกัน สำหรับเอกสารทางการเงินนี่มักจะแบบเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน นั่นก็คือกลุ่มพนักงานประจำและผู้ประกอบอาชีพอิสระ พนักงานประจำ ในส่วนเอกสารทางการเงินของพนักงานประจำที่จะต้องเตรียมให้พร้อมตอนยื่นกู้เงินสร้างบ้านก็คือดังต่อไปนี้ค่ะ ใบรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ในส่วนเอกสารทางการเงินของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะต้องเตรียมให้พร้อมตอนยื่นกู้เงินสร้างบ้านก็คือดังต่อไปนี้ค่ะ สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน / หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง) สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วน หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ วันนี้ทางเพจของเราได้มานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ในการกู้สินเชื่อสร้างบ้านหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะและทางเพจ The Property Center ยังมีบทความดีๆอีกมากมายสามารถเข้ามาอ่านกันได้ ทั้งนี้ลูกเพจท่านใดต้องการให้ทางต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวันปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.baania.com/article https://www.ddproperty.com  
28
DEC
What is real estate?
อสังหาริมทรัพย์คืออะไร 5 ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน อสังหาริมทรัพย์คืออะไร อสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร เป็นคำถามชวนคิดสำหรับคนที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ รู้หรือไม่ว่า อสังหาริมทรัพย์คือเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด เพราะแน่นอนทุกคนต้องมีที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หรือ อพาร์ตเมนต์ เรามาทำความรู้จักเกี่ยวรับเรื่องนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ อสังหาริมทรัพย์คืออะไร อสังหาริมทรัพย์คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ไม้ยืนต้น รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย อสังหาริมทรัพย์หมายถึงสิทธิ์ที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย เช่น สิทธิครอบครองที่ดิน และสิทธิในการอยู่อาศัย ก็ถูกจัดเอาไว้ในหมวดหมู่นี้ อสังหาริมทรัพย์หมายถึงอะไร อสังหาริมทรัพย์คืออะไร อาจกล่าวได้แบบง่าย ๆ ว่า อสังหาริมทรัพย์คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ หากเคลื่อนย้ายหรือทำลายได้ก็จะทำได้อย่างยากลำบากนั่นเอง   อสังหาริมทรัพย์คืออะไร และแตกต่างจากการลงทุนรูปแบบอื่นๆ อย่างไร อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้าย หรือพกพาไปไหนมาไหนได้ หรือก็คือ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ทำการสร้างติดกับที่ดิน เช่น บ้าน อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม หอพัก และคอนโดมิเนียม เป็นต้น ดังนั้น ก่อนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์นักลงทุนจึงควรทำความเข้าใจถึงลักษณะเด่นของอสังหาริมทรัพย์ที่แตกต่างจากการลงทุนในรูปแบบอื่นอยู่หลายประการ ดังนี้ มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก กล่าวคือราคาของอสังหาริมทรัพย์จะขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อม และสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นมากกว่าตัวทรัพย์สินเอง ถ้าหากเศรษฐกิจตกต่ำราคาอสังหาริมทรัพย์ก็จะลดลงตามไปด้วย ใช้ระยะเวลานานในการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสด อสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดจึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานาน และมีความเสี่ยงมากกว่า แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยการปล่อยให้เช่า หรือทำธุรกิจส่วนตัวบนที่ดินนั้น เพื่อสร้างกระแสเงินสด อสังหาริมทรัพย์มักจะราคาสูงขึ้นในระยะยาว เป็นไปได้ที่ในระยะสั้นราคาของอสังหาฯ อาจมีการปรับตัวลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ส่วนใหญ่ในระยะยาวนั้นมักจะมีราคาที่สูงขึ้น โดยขึ้นกับทำเลที่ตั้งของที่ดินผืนนั้นด้วย อสังหาริมทรัพย์มีอายุขัยที่ยาวนาน โดยทั่วไปที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างจะมีอายุการใช้งานนานถึง 50-100 ปี ดังนั้น ผู้ที่ครอบครองสามารถนำ อสังหาริมทรัพย์นั้นไปใช้ประโยชน์สร้างรายได้ในระยะยาวได้  รูปแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจ หลังจากทราบกันไปแล้วว่าอสังหาริมทรัพย์คืออะไร และมีข้อดีในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างไรบ้าง แต่นักลงทุนทราบหรือไม่ว่ารูปแบบของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยสามารถจำแนกได้ ดังนี้ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตร เช่น ที่นา ไร่ สวน หรือที่ดินที่จัดให้เป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ แฟลต อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ตลาดสด ศูนย์ประชุม อาคารพาณิชย์ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อน เช่น รีสอร์ต โรงแรมตากอากาศ เป็นต้น วันนี้ทางเพจของเราได้มานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะและทางเพจ The Property Center ยังมีบทความดีๆอีกมากมายสามารถเข้ามาอ่านกันได้ ทั้งนี้ลูกเพจท่านใดต้องการให้ทางต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวันปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ddproperty.com/   https://www.kasikornbank.com/th/propertyforsale/article/pages/how-to-invest-in-real-estate.aspx
15
DEC
What should you know about a home purchase and sale contract?
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ที่ผู้ซื้อและผู้ขาย 2 ฝ่ายควรรู้ หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน เป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดิน หรือการจะมีบ้านของตัวเองสักหลัง ซึ่งผู้ซื้อจะต้องทำความเข้าใจก่อนทำสัญญาดังกล่าว หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน หรือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้จะซื้ออสังหาริมทรัพย์และผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์ ส่วนประกอบของหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจะประกอบไปด้วย 9 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 รายละเอียดการจัดทำสัญญา ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จะต้องระบุวันที่เซ็นสัญญาในส่วนหัวของสัญญา เพื่อแสดงวันที่มีผลทางกฎหมาย  ส่วนที่ 2 รายละเอียดระหว่างคู่สัญญา รายละเอียดระหว่างคู่สัญญา คือ ข้อมูลที่แสดงตัวตนของผู้จะซื้อและผู้จะขาย เพื่อกำกับว่าสัญญาจะซื้อจะขายบ้านทำขึ้นระหว่างผู้ใด  โดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย ชื่อ อายุ ที่อยู่  “ผู้จะซื้อ” หรือ “ผู้จะขาย” ตามรายละเอียดในบัตรประชาชนของทั้งสองฝ่าย และในสัญญาควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องทั้งหมด หากชื่อคู่สัญญาผิด อาจมีผลทำให้สัญญาเป็นโมฆะได้ ส่วนที่ 3 รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจะซื้อจะขาย จะต้องมีรายละเอียดสำคัญของอสังหาริมทรัพย์ เช่น เลขที่โฉนด ขนาดที่ดิน ชนิดสิ่งปลูกสร้าง เลขที่สิ่งปลูกสร้าง และเขตปกครองที่ที่ดินตั้งอยู่ (ตำบล อำเภอ จังหวัด) ส่วนที่ 4 ราคาขายและรายละเอียดการชำระเงิน ในสัญญาต้องมีการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงซื้อขายอย่างชัดเจน ทั้งเป็นตัวเลขและตัวอักษร  ถ้าในกรณีที่มีการวางมัดจำแล้ว จะต้องระบุว่าผู้ซื้อได้ชำระมาก่อนแล้วเป็นจำนวนกี่บาท ชำระด้วยวิธีใด ควรระบุเลขอ้างอิง ธนาคาร สาขา พร้อมวันที่ชำระ จะชำระอย่างไร ผ่อนงวดละเท่าไร และยังมีเหลือในส่วนที่จะชำระเพิ่มเติมอีกเท่าไรในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน ต้องระบุให้ชัดเจน  ส่วนที่ 5 รายละเอียดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ในสัญญาต้องมีการกำหนดระยะเวลา และการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ภายในเวลาที่คู่สัญญากำหนด ตามที่เห็นสมควร  ส่วนที่ 6 รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ในสัญญาต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าภาษีเงินได้และอากร ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ(ถ้ามี)  ตัวอย่าง กำหนดให้ผู้จะซื้อและผู้จะขายรับผิดชอบค่าธรรมเนียม ฝ่ายละครึ่ง หรือกำหนดให้ผู้จะขายรับผิดชอบค่าภาษีเงินได้และอากรแต่เพียงผู้เดียว เป็นต้น เพื่อป้องกันความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นเมื่อทราบค่าใช้จ่ายที่แท้จริงในวันโอนกรรมสิทธิ์ ค่าใช้จ่ายโอนที่ดิน จำนวนเงิน ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ไม่เกิน 2% ของราคาประเมิน ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย คิดแบบขั้นบันไดภาษี หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง ส่วนที่ 7 การผิดสัญญาและการระงับสัญญา ในสัญญาต้องกำหนดความรับผิดทั้งในส่วนของผู้จะซื้อหรือผู้จะขาย หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น เช่น กรณีผู้จะซื้อผิดสัญญา เปลี่ยนใจไม่ซื้อ หรือไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ในวันตามที่ตกลงในสัญญา ให้ผู้จะขายยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย และริบเงินมัดจำที่วางไว้ได้  หรือกรณีผู้จะขาย ผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้จะซื้อในวันโอนกรรมสิทธิ์ ให้ผู้จะซื้อสามารถขอคืนเงินมัดจำได้และให้ฟ้องร้องให้ผู้จะขายมาดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา และเรียกค่าเสียหายต่างๆจากผู้จะขายได้  ส่วนที่ 8 ข้อตกลงและเงื่อนไขอื่นๆ  ข้อตกลงต่างๆ ระหว่างผู้จะซื้อและผู้จะขายอาจเป็นได้หลายกรณี เช่น รายละเอียดการยกเลิกสัญญา การคืนเงินมัดจำ การรับประกันบ้าน สัญญาว่าจะสร้างถนนทางเข้า-ออก การจดภาระจำยอมทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะก่อนหรือภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งจะระบุในส่วนท้ายของสัญญา เป็นรายละเอียดอีกส่วนที่ต้องใส่ใจว่าทั้งสองฝ่ายได้รับความเป็นธรรม ส่วนที่ 9 ส่วนลงชื่อคู่สัญญาและพยาน ส่วนสุดท้ายของสัญญา คือ ส่วนลงชื่อรับทราบและยอมรับข้อตกลงการซื้อขายและเงื่อนไขอื่นๆ รับรองว่า สัญญาทำเป็นสองฉบับ โดยมีเนื้อหาเหมือนกันครบถ้วนสำหรับฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องมีพยานในการรับทราบสัญญาฝ่ายละ 1 คน สำหรับการเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านหรือที่ดิน แม้ว่าส่วนลงชื่อจะอยู่ท้ายสัญญา ในกรณีที่สัญญามีจำนวนหน้ามากกว่าหนึ่งหน้า ควรเซ็นสัญญากำกับทุกหน้า วันนี้ทางเพจของเราได้มานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายบ้านหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะและทางเพจ The Property Center ยังมีบทความดีๆอีกมากมายสามารถเข้ามาอ่านกันได้ ทั้งนี้ลูกเพจท่านใดต้องการให้ทางต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวันปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ddproperty.com https://blog.ghbank.co.th/house-sale-contract/
17
NOV
"Foreigners applying for household registration in Thailand."
ชาวต่างชาติยื่นขอทะเบียนบ้านในไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง? 1. ความหมายของ “ทะเบียนบ้าน” ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารประจำบ้านซึ่งจะมีการแสดงรหัสประจำบ้าน รายชื่อคนที่อยู่ในบ้านทั้งหมด และจะสามารถบ่งบอกได้ว่าใครเป็นเจ้าบ้าน และใครเป็นผู้อาศัย ซึ่งทะเบียนบ้านนั้นจะแสดงรายละเอียดของแต่ละบุคคลอย่างละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อบิดา - มารดา, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วัน เดือน ปีเกิด ฯลฯ การที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นมีทะเบียนบ้าน จะสามารถทำให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการธุรกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย กรณีจดทะเบียนสมรส รวมทั้งกรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ และต้องการมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จะต้องใช้เอกสารบ้างมาดูกัน   การขอทะเบียนบ้านของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น ทะเบียนบ้านนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน 1. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย 2. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) สำหรับชาวต่างชาติ   ทะเบียนบ้านเป็นเอกสาร ระบุบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัยในบ้าน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคำร้องที่จะขอมีทะเบียนบ้าน สามารถจดทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือเขต ถ้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายการขอมีทะเบียนบ้าน ราคาไม่แพงแต่ต้องใช้เวลา ชาวต่างชาติยื่นขอทะเบียนบ้านในไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง? 1. ความหมายของ “ทะเบียนบ้าน” ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารประจำบ้านซึ่งจะมีการแสดงรหัสประจำบ้าน รายชื่อคนที่อยู่ในบ้านทั้งหมด และจะสามารถบ่งบอกได้ว่าใครเป็นเจ้าบ้าน และใครเป็นผู้อาศัย ซึ่งทะเบียนบ้านนั้นจะแสดงรายละเอียดของแต่ละบุคคลอย่างละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อบิดา - มารดา, เลขบัตรประจำตัวประชาชน, วัน เดือน ปีเกิด ฯลฯ การที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นมีทะเบียนบ้าน จะสามารถทำให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการธุรกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย กรณีจดทะเบียนสมรส รวมทั้งกรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ และต้องการมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จะต้องใช้เอกสารบ้างมาดูกัน การขอทะเบียนบ้านของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น ทะเบียนบ้านนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน 1. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย 2. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) สำหรับชาวต่างชาติ ทะเบียนบ้านเป็นเอกสาร ระบุบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัยในบ้าน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคำร้องที่จะขอมีทะเบียนบ้าน สามารถจดทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือเขต ถ้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายการขอมีทะเบียนบ้าน ราคาไม่แพงแต่ต้องใช้เวลา   การออกทะเบียนบ้าน ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว แต่ละอำเภอจะมีกฎในการจดทะเบียนที่แตกต่างกัน หลักฐานทีเกี่ยวข้อง เช่น เอกสารที่ระบุตัวตน รวมถึงรูปถ่าย สำนักทะเบียนอำเภอบางแห่ง ต้องการหนังสือรับรองจากสถานทูตว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่บางอำเภอก็ไม่ต้องการ ดังนั้น หากจะขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จำเป็นต้องโทรศัพท์ติดต่อสำนักทะเบียนที่ท่านจะยื่นเรื่อง ว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจะมีการนัดสอบปากคำพร้อมพยาน การเตรียมเอกสารกรณีชาวต่างชาติที่สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย -หนังสือเดินทางฉบับจริง -สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย -ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย) -ทะเบียนสมรส -สูติบัตรบุตร (กรณีมีบุตร) -รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป -บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้าน -บัตรประชาชนตัวจริงของคู่สมรส -ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเล่มจริง -สำเนาทะเบียนบ้าน (เตรียมมาเผื่อ) -พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน) *คู่สมรสชาวไทยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันเท่านั้น*   การเตรียมเอกสารกรณีที่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ -หนังสือเดินทางฉบับจริง -สำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองโดยสถานทูตและแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานกงสุลไทย -ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (กรณีทำงานในประเทศไทย) -ท.ร.14 ฉบับภาษาไทย -หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23 -รูปถ่าย 1.5 นิ้วจำนวน 2 รูป -พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน) -เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด -รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง ยื่นเอกสารทั้งหมดให้สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ทำการตรวจสอบ และจะมีเจ้าหน้าที่แจ้งวันนัดสัมภาษณ์ ซึ่งการสัมภาษณ์จะเป็นสัมภาษณ์ด้วยภาษาไทย ถ้าชาวต่างชาติที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้จะต้องนำล่ามมาด้วย สรุป การที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นมีทะเบียนบ้าน จะสามารถทำให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทำใบขับขี่ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการธุรกรรมอื่น ๆ อีกมากมายเลยครับ  ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.genie-property.com/blog                                     https://www.bangkokassets.com/articledetail/    
14
NOV
The bridge across Koh Samui
“โครงการทางด่วนเชื่อมเกาะสมุย” สะพานข้ามเกาะสมุยโดยมี 7 แนวเส้นทางเลือก ระยะทาง 22-29 กม. ประเมินค่าลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านบาท คาดศึกษาเสร็จปี 68 เสนอรายงาน EIA และชง ครม.ตอกเข็มปี 71 ก่อสร้าง 4 ปี วันที่ 8 สิงหาคม 2566 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย โดยมี นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. และนายชุ้น ณัฐเดช กังสุกุล ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมฯ เพื่อนำเสนอข้อมูลความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ แนวคิดเบื้องต้น แนวเส้นทางเลือก รูปแบบเบื้องต้น กระบวนการ ขั้นตอน และแผนการดำเนินงาน ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้มีโอกาสร่วมรับรู้ข้อมูลโครงการตั้งแต่เริ่มต้น และได้มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับนำไปประกอบการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมฯ ต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ทั้งผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาควิชาการ ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ประมาณ 150 คน ณ ห้องประชุม Fortune 2 โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน นครศรีธรรมราช สำหรับโครงการสะพานเชื่อมเกาะสมุย จากอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางรวมกว่า 20 กม. ประเมินค่าก่อสร้างราว 5 หมื่นล้านบาท สำหรับแนวเส้นทางของโครงการ จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการออกแบบเอาไว้ จุดเริ่มต้น มีพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ 3 แห่ง ดังนี้ แห่งที่ 1 อยู่บริเวณ กม.30+700 ของทางหลวงหมายเลข 4142 ในพื้นที่ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ถัดจากทางเข้าท่าเรือราชาเฟอร์รี่ ประมาณ 3 กม., แห่งที่ 2 อยู่บริเวณ กม.4+900 ของทางหลวงชนบทหมายเลข นศ.4044 ในพื้นที่ ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช บริเวณแยกแหลมประทับ และแห่งที่  3 อยู่บริเวณ กม.9+400 ของทางหลวงชนบทหมายเลข นศ.4044 ในพื้นที่ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราอ จุดสิ้นสุด มีพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้3 แห่ง ดังนี้ แห่งที่1 อยู่บริเวณ กม.5+650 ของทางหลวงหมายเลข4170 ด้านเหนืออ่าวพังกา ในพื้นที่ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี,  แห่งที่ 2 อยู่บริเวณ กม.6+100 ของทางหลวงหมายเลข 4170 (แยกพังกา) ซ้อนทับกับถนนท่าเรือไปเกาะแตน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครเกาะสมุย ในพื้นที่ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แห่งที่3 อยู่บริเวณ กม.9+000 ของทางหลวงหมายเลข 4170 ท้ายอ่าวหินลาด ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งทำเกษตรกรรม ในพื้นที่ ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษธานี และแนวเส้นทางทั้ง 7 แนวที่จะต้องคัดเลือกอีกรอบทั้งหมด แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศราว่า ตัวเลขมูลค่าโครงการในแต่ละแนวเส้นทาง ยังอยู่ระหว่างการศึกษา โดยจะต้องคำนวณรวมกับค่างานเวนคืนที่ดินในบางส่วนด้วย แต่เท่าที่มีการสอบถามบริษัทที่ปรึกษา ประมาณการณ์มูลค่าได้คร่าวๆอยู่ที่ระหว่าง 25,000 – 50,000 ล้านบาท ทั้ง 7 แนวเส้นทาง แนว 1-3 จะเริ่มต้นจาก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี มีระยะทาง 28-30 กม. ส่วนแนว 4-7 เริ่มต้นจาก อ.ขนอม จ.นครศรีธรรม มีระยะทาง 22-25 กม.              วันนี้ทางเพจของเราได้มานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสร้างสะพานข้ามเกาะสมุยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะและทางเพจ The Property Center ยังมีบทความดีๆอีกมากมายสามารถเข้ามาอ่านกันได้ ทั้งนี้ลูกเพจท่านใดต้องการให้ทางต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวันปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://mgronline.com/business/detail/9660000071335 https://www.matichon.co.th/region/news_4105855
03
NOV
How can foreigners buy condominiums or houses in Thailand?
ต่างชาติซื้อคอนโด ซื้อบ้านในไทยได้อย่างไรบ้าง ชาวต่างชาติสามารถซื้อคอนโดในประเทศไทยได้ไหม ? คำตอบของคำถามในข้อนี้ก็คือ “ได้” แต่มีข้อกำหนดกรรมสิทธิ์ให้ถือครองได้ในจำนวนที่จำกัด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 19 ทวิ บัญญัติไว้ว่า “อาคารชุดแต่ละอาคารชุดจะมีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 49 ของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6” หรือถ้าจะพูดแบบภาษาชาวบ้านเลยก็คือ...ชาวต่างชาติจะสามารถซื้อคอนโดแบบถือครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ (freehold) ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของพื้นที่ยูนิตทั้งหมดของทางโครงการคอนโด ยกตัวอย่างเช่น โครงการคอนโดแห่งหนึ่งมีจำนวน 200 ยูนิต และแต่ละยูนิตมีพื้นที่ 100 ตารางเมตร ซึ่งก็จะรวมพื้นที่ทั้งหมดได้ 20,000 ตารางเมตร เพราะฉะนั้นชาวต่างชาติจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ (freehold) ได้ 9,800 ตารางเมตร เป็นต้น *** แต่ถ้าหากคอนโดแห่งไหนมีสัดส่วนชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์อยู่ครบแล้ว ⁠ชาวต่างชาติท่านอื่นๆ ก็จะไม่สามารถซื้อคอนโดแห่งนั้นๆ ได้อีก *** นอกจากซื้อคอนโด ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาฯ ประเภทอื่นๆ ได้อีกหรือไม่ ? สำหรับคำตอบของคำถามนี้ก็คือ “ไม่ได้” เพราะโดยปกติแล้วชาวต่างชาติจะไม่สามารถซื้ออสังหาฯ ประเภทอื่นๆ ได้เลย นอกจากโครงการคอนโด แต่! ถ้าหากชาวต่างชาติได้จดทะเบียนสมรสกับชาวไทย ก็สามารถซื้ออสังหาฯ ประเภทอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ทาวน์เฮาส์ ที่ดิน หรือแม้แต่บ้านเดี่ยวตามโครงการหมู่บ้าน ด้วยการเป็นผู้กู้ร่วมกับคู่สมรสชาวไทยหรือเป็นผู้ค้ำประกันให้กับคู่สมรสชาวไทยซึ่งเป็นผู้กู้หลัก การซื้อบ้านซื้อคอนโดของชาวต่างชาติมีขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้ ดังที่คุณทราบแล้วว่าชาวต่างชาติกู้ซื้ออสังหาฯ ในไทยได้ แต่ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์ได้ในฐานะบุคคลธรรมดานั้นมีเพียงประเภทเดียวก็คือห้องชุดหรืออาคารชุด หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าคอนโดภายใต้ข้อจำกัดที่ว่าคอนโดมิเนียมโครงการหนึ่งจะมีการถือครองโดยชาวต่างชาติได้ในสัดส่วนที่ไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ขายของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น ๆ 1.ขั้นตอนชาวต่างชาติซื้อคอนโด หลังจากที่เลือกคอนโดที่ถูกใจได้แล้ว ต่างชาติซื้อคอนโดจะเริ่มจากการวางเงินจองห้อง โดยปกติการวางเงินจองสำหรับชาวต่างชาติจะอยู่ที่ประมาณ 50,000-150,000 บาท   จากนั้นจะมีการนัดมาทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งในสัญญาจะระบุรายละเอียดของห้อง และจำนวนเงินที่ต้องชำระทั้งหมด หากมีงวดผ่อนดาวน์ก็จะมีระบุไว้ในหนังสือสัญญานี้ด้วย   ต่อมาจะเป็นขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อจะต้องเตรียมเงิน หรือว่าเตรียมตัวกู้ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อเงินสด โดยชาวต่างชาติสามารถมอบอำนาจให้กับดีเวลลอปเปอร์หรือเอเจนต์ให้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินแทนได้ แต่ควรมาเตรียมเอกสารในไทยด้วยตนเอง   แต่สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่สะดวกเดินทางมาประเทศไทย สามารถนำเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดไปแสตมป์ตรา Notary Public ที่สถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ เพื่อรับรองเอกสารว่าเป็นของจริงแล้วจึงส่งเอกสารทั้งหมดมาที่ดีเวลลอปเปอร์หรือเอเจนต์ในไทย เพื่อทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ก็ได้เช่นกัน   ขั้นตอนต่างชาติซื้อคอนโด ขั้นตอสุดท้ายคือผู้ซื้อชาวต่างชาติจะได้หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด และหนังสือสัญญาซื้อขาย จากสำนักงานที่ดิน ซึ่งแสดงว่าผู้ซื้อชาวต่างชาติเป็นเจ้าของคอนโดโดยสมบูรณ์ 2.การชำระเงินของชาวต่างชาติซื้อคอนโดในไทย การชำระเงินของชาวต่างชาติซื้อคอนโดในไทยนั้น เงินในการชำระทั้งหมดจะต้องมาจากต่างประเทศ โดยมีขั้นตอนดังนี้ เงินจอง สามารถชำระผ่านทางบัตรเครดิต หรือโอนเงินจากต่างประเทศ ผ่อนดาวน์ ปกติแล้วจะอยู่ที่ 20-30% ของราคาห้อง ซึ่งเงินผ่อนดาวน์ในแต่ละงวดนั้นต้องโอนเงินมาจากต่างประเทศทีละงวด ด้วยสกุลเงินต่างประเทศเท่านั้น โอนกรรมสิทธิ์ จะต้องโอนเงินมาจากธนาคารต่างประเทศด้วยสกุลเงินต่างประเทศเท่านั้น ไม่เว้นแม้แต่กรณีที่ชาวต่างชาติมีเงินอยู่ในบัญชีธนาคารในประเทศไทย แต่ถ้าผู้ซื้อมีเงินก้อนสามารถชำระได้เลย แต่ถ้าไม่มี ผู้ซื้อชาวต่างชาติสามารถขอกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินมาชำระได้ 3.การโอนเงิน ชาวต่างชาติที่มีเงินอยู่ในบัญชีในไทย จะไม่สามารถโอนเงินโดยตรงได้เลย ต้องโอนเงินไปต่างประเทศก่อน แล้วจึงโอนกลับมาที่ประเทศไทย เพื่อให้ได้ใบรับรอง FOREX/FET มาใช้เป็นเอกสารในการโอนกรรมสิทธิ์ต่อไป การโอนเงินมาที่ประเทศไทย ชาวต่างชาติซื้อคอนโดสามารถโอนให้กับดีเวลลอปเปอร์หรือผู้ขายได้โดยตรง หรือโอนเข้าบัญชีตนเองก่อนแล้วค่อยโอนให้ผู้ขายต่อไปก็ได้ ชาวต่างชาติที่โอนเงินจากต่างประเทศ ผู้ซื้อจะต้องมีบัญชีในธนาคารต่างประเทศอยู่แล้ว จึงจะสามารถทำเรื่องโอนเงินจากธนาคารต่างประเทศมาให้ดีเวลลอปเปอร์หรือผู้ขายในไทย ซึ่งสามารถโอนเงินให้ผู้ขายโดยตรง หรือโอนเข้าบัญชีตนเองก่อนแล้วค่อยโอนให้ผู้ขายต่อไปก็ได้เช่นกัน   ยกเว้นกรณีของชาวจีน ซึ่งมีความพิเศษแตกต่างจากชาติอื่น ๆ เนื่องจากกฎหมายในจีนไม่อนุญาตให้คนจีนโอนเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศดังนั้น ถ้าชาวจีนคนไหนที่จะซื้อคอนโดในไทยจะต้องทำการเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยก่อน แล้วค่อยทยอยโอนเงินจากต่างประเทศเข้าบัญชีธนาคารตัวเองในไทย โดยกฎมายของจีนระบุไว้ว่า ชาวจีนสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้สูงสุด 50,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีเท่านั้น ซึ่งถ้าต้องการซื้อคอนโดฯ ในราคาที่สูงกว่านี้ อาจให้บุคคลอื่นโอนเงินเข้าบัญชีผู้ซื้อในไทย หลังจากโอนเงินมาที่บัญชีธนาคารผู้ซื้อในประเทศไทยแล้ว ถึงจะสามารถโอนเงินชำระค่าห้องคอนโดกับดีเวลลอปเปอร์หรือผู้ขาย   4.การเตรียมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อบ้านสำหรับชาวต่างชาติ การเตรียมเอกสารเพื่อยืนขอสินเชื่อบ้านสำหรับชาวต่างชาตินั้นจะคล้ายคลึงกับการเตรียมเอกสารเพื่อขอกู้บ้านของชาวไทย คือจะแบ่งเป็นเอกสารออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ – กลุ่มที่ 1 เอกสารประจำตัวผู้ขอสินเชื่อ สำหรับชาวต่างชาติเอกสารชุดนี้จะประกอบไปด้วย หนังสือเดินทาง (Passport) ใบอนุญาตเข้าประเทศไทย (Visa) และใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (Work Permit) หากจดทะเบียนสมรสกับคนไทยต้องเตรียมทะเบียนสมรสด้วย – กลุ่มที่ 2 เอกสารแสดงความสามารถทางการเงิน ได้แก่ หนังสือรับรองเงินเดือน หนังสือแสดงการจ่ายเงินเดือน (Payment Slip) สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อแสดงรายการเดินบัญชีย้อนหลัง หนังสือแสดงภาษีเงินได้ประจำปี หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย – กลุ่มที่ 3 เอกสารแสดงรายละเอียดหลักทรัพย์ เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อ ในกรณีนี้คือ คอนโดมิเนียม ได้แก่ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช. 2) แผนที่ตั้งอาคารชุด แผนผังห้องชุด รูปถ่ายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจะซื้อจะชาย สัญญามัดจำ หรือหลักฐานการชำระเงินดาวน์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ddproperty.com/en/property-guides https://blog.propertyhub.in.th/PH202--
22
AUG
Latest update on Company structure and registration
 ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันหลายคนหันมาเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งธุรกิจนั้นอาจเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ในครอบครัวหรือแม้แต่ธุรกิจที่ขยับขยายจนกลายมาเป็นบริษัท แต่เมื่อเปิดบริษัทของตัวเองแล้ว “การจดทะเบียนบริษัท” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ การจดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท การจดทะเบียนบริษัทแบ่งออกได้ 2 ประเภท ซึ่งอ้างอิงตามเจ้าของบริษัทที่จะดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมกัน ได้แก่ แบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดากับแบบทะเบียนนิติบุคคล สำหรับใครที่สงสัยว่าสามารถจดทะเบียนบริษัท 2 คนได้ไหม คำตอบคือ โดยปกติแล้วการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนสามารถทำได้ และตอนนี้การจดทะเบียนแบบบริษัทจำกัดก็สามารถทำได้เช่นกันด้วย เนื่องจากมีกฎหมายข้อยกเว้นออกมาตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ว่าสามารถจดทะเบียนบริษัทโดยมีผู้เริ่มก่อตั้งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปได้ 1.ประเภททะเบียนพาณิชย์  การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดา คือ การเปิดบริษัทคนเดียว เจ้าของกิจการเพียงคนเดียวนั่นเอง การจดทะเบียนแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีมูลค่าไม่สูงมาก เจ้าของกิจการทำงานเพียงคนเดียวได้ ไม่มีพนักงานมีข้อดีคือสามารถทำธุรกิจได้อิสระมากกว่าแบบนิติบุคคล ได้กำไรเต็มที่ ไม่ต้องทำบัญชียื่นส่งงบแต่ก็มีข้อเสียเช่นกันคือธุรกิจอาจดูไม่น่าเชื่อถือในระยะยาว เข้าถึงสินเชื่อการเงินได้ยาก เสียภาษีเงินได้มากกว่าการจดทะเบียนนิติบุคคล และเจ้าของกิจการจะต้องรับผิดชอบภาระหนี้สินจากกิจการเองทั้งหมดด้วย การทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) เหมาะกับใคร ขายของออนไลน์ ขายของบนเว็บไซต์ ค้าขายแบบมีหน้าร้านขนาดเล็ก 2.ประเภททะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล คือ การเปิดบริษัทที่มีเจ้าของกิจการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การดำเนินธุรกิจทุกอย่างจะต้องผ่านความเห็นชอบจากเจ้าของกิจการทุกคนแต่ออกมาในนามของบริษัท การจดทะเบียนบริษัทประเภทนี้ทำให้บริษัทมีตัวตนทางกฎหมายชัดเจน การดำเนินการใดๆ จะออกมาในนามของบริษัท เหมาะกับธุรกิจที่เติบโตในระดับหนึ่ง ธุรกิจ SME ธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนบริษัทเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ หากกิจการของคุณเริ่มเติบโต โดยเฉพาะเมื่อกิจการมีรายได้มากขึ้น มากกว่า 750,000 บาทขึ้นไป เพราะหากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้เท่านี้จะต้องเสียภาษีถึง 35% แต่หากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ภาษีเงินได้สูงสุดที่ต้องเสียจะอยู่ที่ 20% เท่านั้น จะเห็นว่าการจดทะเบียนบริษัทนั้นช่วยประหยัดภาษีและยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กิจการอีกด้วย ซึ่งหลายคนอาจจะอยากทราบแล้วว่าขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทนั้นยุ่งยากไหม มีขั้นตอนอะไรบ้าง ใช้เวลานานหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่ได้ยุ่งยากแบบที่ทุกคนคิด เพียงแต่ต้องศึกษาและเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม และทำตามขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทต่อไปนี้   1. ศึกษาข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท ก่อนตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทต้องศึกษาข้อมูลที่ต้องรู้ให้เข้าใจเสียก่อน ว่าการจดทะเบียนมีกี่ประเภท และกิจการของคุณเหมาะกับการจดทะเบียนบริษัทแบบไหนมากกว่ากัน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของเอกสาร ชื่อบริษัท รวมถึงเอกสารต่างๆ ซึ่งการจดบริษัทสามารถทำได้ 1 วันก็เป็นอันเสร็จสิ้น 2. จัดเตรียมเอกสารสำหรับการจดทะเบียนบริษัท สิ่งสำคัญของขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทคือการเตรียมเอกสารต่างๆ ที่ใช้สำหรับยื่นจดทะเบียน โดยเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบริษัทให้ใช้ลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้ถือหุ้นคนใดก็ได้ 1 คน ส่วนเอกสารบัตรประจำตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ให้ลงชื่อด้วยตนเองได้เลย เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนไปจดทะเบียนบริษัทแบบวันเดียว ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาตินั้นมี 2 รูปแบบที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ถือหุ้นโดยต่างชาติไม่เกิน 49% หมายถึง ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นไม่ใช่สัญชาติไทย สัดส่วนจำนวนหุ้นไม่เกินกว่า 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในกรณีนี้จะถือว่าบริษัทเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย  ถือหุ้นโดยต่างชาติตั้งแต่ 50% ขึ้นไป หมายถึง ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นไม่ใช่สัญชาติไทย สัดส่วนจำนวนหุ้นตั้งแต่ 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ในกรณีนี้จะถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างด้าว และด้วยความที่ถูกจัดเป็นบริษัทต่างด้าวแล้ว จะมีเงื่อนไขตามมาคือ  กิจการต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว  ห้ามถือครองที่ดิน มีข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว   3.ตั้งชื่อบริษัทสำหรับการจดทะเบียนและวิธีการจองชื่อบริษัท สำหรับการตั้งชื่อบริษัทที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาตามมาในภายหลัง ควรตั้งชื่อโดยหลีกเลี่ยงคำที่ทำให้เข้าใจผิด โดยไม่ใช้พระนามของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน ไม่ใช้ชื่อประเทศ ไม่ใช้ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ไม่ใช้ชื่อส่วนของราชการ ส่วนวิธีการตรวจและจองชื่อบริษัทมี 2 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ สมัครสมาชิกฟรี ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เข้าไปที่ จองชื่อ / ตรวจทะเบียนคำขอนิติบุคคล สามารถทำการจองชื่อบริษัทได้ถึง 3 ชื่อ โดยชื่อต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับชื่อบริษัทที่มีอยู่แล้ว   4. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน ขั้นตอนการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คือ การยื่นหนังสือแสดงความต้องการจัดตั้งบริษัทที่ต้องใช้ยื่นต่อนายทะเบียน โดยต้องยื่นภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วันหลังจากที่นายทะเบียนได้ลงชื่อบนเอกสาร    5.จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้นโดยทุกคนต้องถือคนละ 1 หุ้นหรือมากกว่า จากนั้นเมื่อทำการขายหุ้นบริษัทจนครบแล้ว จะต้องออกหนังสือเพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดการประชุมจะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน   6. จัดประชุมบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกในบริษัท เพื่อให้เข้าใจข้อมูลตรงกัน หลังจากขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการจัดประชุมบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกในบริษัทเพื่อให้เข้าใจข้อมูลเรื่องสำคัญตรงกัน ไม่ว่าจะเป็น กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท การเลือกตั้งคณะกรรมการ คัดเลือกผู้สอบบัญชีเพื่อตรวจสอบรับรองงบการเงิน แจ้งเรื่องค่าตอบแทนของผู้ก่อตั้งบริษัท รวมถึงเรื่องของจำนวนหุ้นบริษัทสุทธิ 7. จัดตั้งคณะกรรมการบริษัท สำหรับขั้นตอนต่อมาคือการประชุมจัดตั้งกรรมการบริษัท ขั้นตอนนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้มีบุคคลดำเนินการจัดเก็บค่าหุ้นบริษัทจำนวน 25% ของราคาหุ้นจริงให้ครบแทนผู้ก่อตั้งบริษัท เพื่อที่จะยื่นขอจดทะเบียนบริษัทนั่นเอง โดยการยื่นจดทะเบียนบริษัทจะต้องดำเนินการภายใน 3 เดือนหลังจากที่มีการประชุมจัดตั้งเท่านั้น หากล่าช้าจะต้องจัดการประชุมขึ้นใหม่ 8. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท มาถึงขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทที่สำคัญมาก ซึ่งใกล้เสร็จสิ้นกระบวนทั้งหมดแล้วนั่นก็คือ “การชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท” นั่นเอง ซึ่งค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระทั้งหมดในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด มีดังนี้ ค่าหนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท ค่ารับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน 50 บาท ค่าใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน 100 บาท ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากเงินทุนแสนล่ะ50บาท โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงไม่เกิน25,000บาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัดตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท 9. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท มาถึงขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนการรับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมายในการดำเนินธุรกิจของคุณ เมื่อถึงขั้นตอนนี้แสดงว่าบริษัทของคุณได้ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการ จดทะเบียนบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว สามารถขอรับได้ที่นายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในพื้นที่ที่อาศัยอยู่หรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด วันนี้ทางเพจของเราได้มานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะและทางเพจ The Property Center ยังมีบทความดีๆอีกมากมายสามารถเข้ามาอ่านกันได้ ทั้งนี้ลูกเพจท่านใดต้องการให้ทางต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวันปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ   ข้อขอบคุณข้อมูลจาก https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/company-registration.aspx https://wonderfulpackage.com/article/v/1631/        
25
JUL
Understand Thailand Visa
THAILAND VISA? A visa is a document that indicates a person has been granted permission to enter a country for a specified period of time. The issuing authority typically stamps a sticker or impression in the passport, although some countries use electronic visas that are linked to the passport through computer systems, without physically stamping the passport. Each type of visa may come with various conditions, such as the visa's duration, the allowed regions or areas for entry, and the period of time in which the traveler can enter and exit the country. 1. How many types of visas are there? Tourist Visa (วีซ่าท่องเที่ยว) Business Visa (วีซ่าธุรกิจ) Student Visa (วีซ่านักศึกษา) Work Visa (วีซ่าทำงาน) Transit Visa (วีซ่าตรวจสอบประเทศที่ผ่าน) Spouse Visa (วีซ่าคู่สมรส) Family Visa (วีซ่าครอบครัว) Residence Visa (วีซ่าอาศัย) Diplomatic Visa (วีซ่าทางการ) Official Visa (วีซ่าทางราชการ) Refugee Visa (วีซ่าผู้ลี้ภัย) Journalist Visa (วีซ่านักข่าว) Retirement Visa (วีซ่าเกษียณอายุ) Keep in mind that this is not an exhaustive list, and some countries may have additional or specialized visa categories based on their unique immigration rules and requirements. If you are planning to travel to a specific country, it's essential to check with the respective country's official embassy or consulate to get accurate and up-to-date information about the types of visas available. 2. Generally, a foreign citizen who wishes to enter the Kingdom of Thailand is required to obtain a visa from a Royal Thai Embassy or a Royal Thai Consulate-General. However, nationals of certain countries do not require a visa if they meet visa exemption requirements as follows: (1) they are nationals of countries which are exempted from visa requirements when entering Thailand for tourism purposes. Such nationals will be permitted to stay in the Kingdom for a period of not exceeding 30 days. For more information, please see Tourist Visa Exemption; (2) they are nationals of countries which hold bilateral agreements with Thailand on the exemption of visa requirements. For more information, please see List of Countries which have Concluded Agreements with Thailand on the Exemption of Visa Requirements. 3. Nationals of certain countries may apply for visa upon arrival in Thailand. Travelers with this type of visa are permitted to enter and stay in Thailand for a period of not exceeding 15 days. For more information, please see Visa on Arrival. 4.Travelers travelling from/through countries which have been declared Yellow Fever Infected Areas must acquire an International Health Certificate verifying the receiving of a Yellow Fever vaccination.  5. "Visa on Arrival" is a type of visa that can be obtained at the designated immigration checkpoints upon arriving at the destination country. Travelers will receive this visa directly at the immigration checkpoint upon arrival. This type of visa allows tourists to apply for it right away at the immigration checkpoint without the need for prior application or approval. It is not necessary to go through the visa application process at an embassy or consulate before traveling. 6. Please note that the period of visa validity is different from the period of stay. Visa validity is the period during which a visa can be used to enter Thailand. In general, the validity of a visa is 3 months, but in some cases, visas may be issued to be valid for 6 months, 1 year or 3 years. The validity of a visa is granted with discretion by the Royal Thai Embassy or Royal Thai Consulate-General and is displayed on the visa sticker. 7.The process of applying for a visa to enter a country, especially for tourism purposes, typically involves three main channels: Applying through an embassy or a visa application center: Applying online through the official website: Applying upon arrival at the destination's airport: 8.The documents required for a visa application typically include: Visa Application Form: Completed and signed visa application form provided by the embassy or official visa application center. Passport: A valid passport with a minimum of six months validity beyond the intended period of stay in the destination country. Passport-sized Photos: Recent passport-sized photos that meet the specifications set by the embassy or consulate of the destination country. Financial Documents: Proof of sufficient financial means to cover the expenses during the stay, such as bank statements, income statements, or a letter of sponsorship (if applicable). Additional Supporting Documents: Other documents to support the purpose of the visit, such as round-trip flight tickets, hotel reservations, travel itinerary, invitation letters, or employment verification letter (if applicable). Today, our page is presenting information about the Thailand Elite Visa, hoping that it will be beneficial for all of you who come here to read. Additionally, The Property Center page also has many other great articles that you can read. If any of you are looking to find a house or other real estate, you can entrust your property to us for sale. We have clients contacting us every day, and we will professionally handle the work on your behalf. The Property Center warmly welcomes all homeowners. We have a team that posts on various online media platforms and creates advertisements in newspapers and marketplaces. These services are free, and we only charge a commission fee of 3-5%. Please contact us promptly. Thank you for information from: http://www.immigration.go.th/?page_id=2763 https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/92243 http://travel.kapook.com/view264976.html thailand.acclime.com/  
17
APR
7 Tips For Home Sellers In 2023
ขายบ้านยังไง ให้ขายได้เร็ว อัพเดตปี 2023 7 เคล็ดลับสำหรับผู้ต้องการขายบ้าน       สำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้ที่อยากจะขายอสังหาริมทรัพย์ ช่วงนี้อาจเป็นช่วงนาทีทองเลยก็ว่าได้ ในตลาดเกาะสมุย เนื่องจากการย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ชั่วคราวหรือบางรายอาจถาวรของชาวต่างชาติที่ต้องการย้ายถิ่นฐานจากสภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน อีกทั้งชาวจีนที่ได้เปิดประเทศหลังปิดล็อคดาวน์โควิดมายาวนาน วันนี้ The Property Center มีเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้คุณขายบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ได้เร็วๆตามที่คุณคาดหวังไว้ค่ะ 1. ตั้งราคาให้เหมาะสม ราคาถือเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้อสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม คอนโด หรือที่ดิน ขายออกได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการตั้งราคาขายจึงค่อนข้างสำคัญ และถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อแรก การตั้งราคาขายต้องดูหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ราคาประเมินจากองค์กรอิสระหรือสถาบันทางการเงิน รวมถึงราคาตลาดหรือราคาซื้อขายจริงบนทำเลนั้น ๆ 2. ทำสินค้าให้น่าสนใจ แม้คนส่วนใหญ่จะคิดเยอะกว่าเดิม กว่าจะควักเงินแต่ละบาทออกจากกระเป๋า แต่ก็ยังพบสัญญาณที่ดี ผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการค้นหาผ่านช่องทางออนไลน์ถือเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องการขาย แต่จะขายได้หรือไม่ ส่วนหนึ่งต้องสร้างความน่าสนใจให้สินค้า เพิ่มมูลค่าด้วยการปรับปรุงสินค้าให้สวยงามเหมือนใหม่ ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนบ้าน หรือคอนโดให้เหมาะกับการ Work From Home มากขึ้น โดยอาจะเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีความยืดหยุ่น และมีประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังต้องใช้รูปภาพสวย ๆ ดึงดูดความสนใจ และให้ข้อมูลรายละเอียดที่ครบถ้วน 3. ลงประกาศขายที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีช่องทางสำหรับผู้ที่อยากขายอสังหาริมทรัพย์มากมาย ทั้งแบบที่ต้องใช้เงินและแบบที่ไม่ต้องใช้เงิน กรณีที่เจ้าของขายเองก็สามารถถ่ายรูปบ้านในมุมต่าง ๆ ที่ต้องการนำเสนอพร้อมกับเตรียมข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ทำเลที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ต้องตัวบ้าน ระบบสาธารณูปโภคในบริเวณใกล้เคียง แล้วก็นำไปลงประกาศตามแหล่งต่าง ๆ ได้เลย พื้นที่สำหรับการประกาศขายที่อยากแนะนำมีดังนี้ – เว็บไซต์ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ข้อดีคือ เว็บไซต์เหล่านี้มีการทำข้อมูลเพื่อดึงดูดผู้ที่สนใจซื้อขายที่อยู่อาศัยให้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่ลูกค้าจะได้เห็นบ้านหรือคอนโดที่ต้องการขายก็มีมากขึ้น – กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ใน Facebook อีกหนึ่งช่องทางบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมาก สามารถโพสต์เพื่อประกาศขายที่อยู่อาศัย แต่ต้องสอบถามกฎระเบียบของกลุ่มดังกล่าวก่อนว่าอนุญาตหรือไม่ – ติดป้ายหน้าบ้านและในบริเวณใกล้เคียง วิธีข้างต้นถือเป็นวิธีการบนโลกออนไลน์ แต่อีกหนึ่งวิธีออฟไลน์ที่ไม่ควรมองข้ามคือการติดป้ายประกาศ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้กับผู้สนใจโดยเฉพาะในละแวกบ้านตัวเองได้ แต่อย่าลืมทำป้ายที่มีข้อมูลการติดต่อชัดเจนติดเอาไว้ 4. ตรวจเช็กค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายต้องรับผิดชอบ ในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จะมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องตกลงกันว่าใครจะจ่ายส่วนใด ซึ่งหากมีการตกลงให้เรียบร้อยก่อนขาย ก็จะช่วยให้การขายราบรื่น และเรียบร้อยมากขึ้น ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มีดังนี้ – ค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน คิดเป็น 2% ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง โดยทั่วไปจะแบ่งจ่ายกันคนละ 1% ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย หรือในกรณีที่ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้ลดราคาบ้านให้ แต่ผู้ขายมีข้อเสนอเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมโอนบ้านทั้งหมด หรือกรณีอื่น ๆ ตามข้อตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย – ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ขาย คิดเป็น 3.3% ของราคาซื้อขาย ทั้งนี้ผู้ขายต้องครอบครองบ้านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี แต่หากครอบครองมากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ก็จะไม่ต้องจ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ผู้ขายต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน – ค่าอากรแสตมป์ โดยทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ขาย คิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ต้องไม่ต่ำกว่าราคาประเมินที่ดิน หากต่ำกว่า ให้ใช้ราคาประเมินที่ดินมาคำนวณ แต่ในกรณีที่ผู้ขายเข้าข่ายต้องจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะก็ไม่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ – ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีที่ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ผู้ขายต้องชำระค่าภาษีนี้เพราะเป็นผู้มีรายได้จากธุรกรรมซื้อขาย การคิดค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้าหรือแบบขั้นบันได และจำนวนเงินที่เสียภาษีก็ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้มากับจำนวนปีที่ถือครอง เช่น หากได้มาด้วยการซื้อและถือครองนาน ก็จะต้องชำระค่าภาษีโอนบ้านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พิจารณาจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกรมที่ดินแล้ว นั่นหมายความว่าจะจ่ายค่านายหน้าก็ต่อเมื่อได้เงินจากผู้ซื้อแล้ว 5. สัญญาต้องไม่พลาด ป้องกันการเสียเปรียบ สัญญาซื้อขายเป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการซื้อขายบ้าน จึงต้องพิจารณาทุกรายละเอียดอย่างรอบคอบ ซึ่งสัญญาที่ดีก็ทำให้ผู้ซื้อ รวมถึงผู้ขายอุ่นใจด้วย โดยสัญญาที่ดีจะต้องมีข้อมูลสำคัญเหล่านี้ – ขนาดและราคาซื้อขาย ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ขนาดที่ดิน พื้นที่บ้าน และราคาในสัญญาจะซื้อจะขายนั้นเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนสัญญาซื้อขาย (ท.ด.13) จะต้องมีการตรวจสอบราคาซื้อขายบ้านและเลขที่โฉนดที่ดินในสัญญาให้ถูกต้องด้วย – วันที่นัดโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาจะซื้อจะขายต้องกำหนดวันที่นัดโอนกรรมสิทธิ์ โดยต้องเผื่อเวลาสำหรับการยื่นขอสินเชื่อและตรวจรับบ้านด้วย หากสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ สัญญานั้นก็จะกลายเป็นสัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะไปโดยปริยาย – การรับผิดชอบค่าใช้จ่าย การซื้อขายบ้านจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และภาษีอากร ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหา หากผู้ซื้อและผู้ขายไม่ตกลงกันให้ดีว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนไหน ดังนั้นจะต้องระบุในสัญญาจะซื้อจะขายให้ชัดเจน – เบี้ยปรับเมื่อผิดสัญญา หากผู้ขายมีความล่าช้าในการส่งมอบบ้านหรือขอยกเลิกโดยที่ผู้ซื้อไม่ได้ทำผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิ์คิดเบี้ยปรับรายวันได้ในอัตราไม่ต่ำกว่า 0.01% แต่รวมกันไม่เกิน 10% ของราคาซื้อขาย และเบี้ยปรับควรระบุไว้ใน สัญญาอย่างชัดเจน – ข้อตกลงและเงื่อนไขอื่น ๆ ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองจะได้รับความเป็นธรรมในสัญญาทุก ๆ ข้อ เช่น การยกเลิกสัญญา การคืนเงินมัดจำ และการรับประกันบ้าน ส่วนสัญญาซื้อขายจะระบุเงื่อนเพิ่มเติมในส่วนท้ายของสัญญา โปรดอ่านให้ครบถ้วนก่อนเซ็นสัญญาร่วมกัน 6. นายหน้า ตัวช่วยสำคัญ หากไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการขาย รวมถึงเรื่องกฎหมาย การเงิน ขั้นตอนทางราชการ การขายอสังหาริมทรัพย์อาจเป็นเรื่องยากและซับซ้อน แนะนำให้ใช้บริการนายหน้า ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะมาช่วยขายเริ่มตั้งแต่ – ให้คำแนะนำในการเตรียมบ้านก่อนประกาศขาย เช่น การตกแต่งและการตั้งราคาขาย กรณีบ้านมือสอง นายหน้าสามารถตรวจสอบจุดบกพร่อง ประเมินบ้าน และให้คำปรึกษาเพื่อปรับปรุงและช่วยให้บ้านขายได้ง่ายในราคาดี – ทำการตลาด หาลูกค้า ติดต่อ และดำเนินการต่าง ๆ รวมถึงพาลูกค้าไปดูบ้านและปิดการขาย – จัดเตรียมสัญญาซื้อขายบ้าน แจ้งให้เจ้าของบ้านเตรียมเอกสารต่าง ๆ และช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ สำหรับค่านายหน้า โดยทั่วไปจะคิดที่ 3% ของราคาซื้อขาย หรืออาจต่อรองให้น้อยลงกว่านี้ได้หากบ้านที่จะขายมีราคาสูงมาก และนายหน้าจะเก็บค่านายหน้าเมื่อทำสัญญาซื้อขายเรียบร้อย 7. ใส่ใจเรื่องความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นในช่วงนี้ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ก็ตาม หนึ่งในเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือเรื่องของความสะอาด ก่อนขายควรมีการทำความสะอาดบ้านและคอนโดก่อนที่ผู้ซื้อจะเข้าอยู่อาศัย ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการขาย เพราะบ้านหรือคอนโดที่สะอาด สามารถดึงดูดใจ หรือสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้ซื้อหรือผู้เช่าตั้งแต่แรกเห็นนั่นเอง ทั้งหมดนี้เป็น 7 เทคนิคดี ๆ ช่วยให้ขายบ้านออกง่าย แม้ในช่วงนี้ที่ดูเหมือนว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ก็ยังพบสัญญาณที่ดี มีผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น เป็นโอกาสที่ผู้ขายจะใช้เทคนิคเหล่านี้พิชิตใจผู้ซื้อ หากเจ้าของบ้านท่านใด ไม่สะดวกหรือไม่มีเวลา และต้องการให้ทางเราช่วยจัดการเรื่องเหล่านี้แทนท่าน เรามีลูกค้าที่ติดต่อเรามาทุกวัน ต้องการหาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ สามารถนำทรัพย์ของท่านมาฝากเราขายได้ ปล่อยให้มืออาชีพทำงานแทนคุณแล้วคุณรอรับยอดขายอย่างเดียว The Property Center ยินดีต้อนรับท่านเจ้าของบ้านทุกท่านค่ะ เรามีทีมงานโพสต์ตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ จัดทำโฆษณาลงโซเชี่ยวและมาร์เก็ตเพลสต่างๆ แทนท่าน บริการเหล่านี้ฟรี เพียงแต่เราคิดค่านายหน้า 3-5% เท่านั้น ติดต่อเราด่วนค่ะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.ddproperty.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2/7-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84-%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-28142
07
APR
3 simple important things before loaning for building house
ปลูกบ้านในฝันก็กู้ได้ (100%) นะรู้ยัง ​​​​​​      “สินเชื่อบ้าน” ถ้าพูดถึงคำนี้หลายคนมักจะเข้าใจว่า เป็นการกู้เงินกับธนาคารเพื่อนำเงินไปซื้อบ้าน ซึ่งเข้าใจแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ไม่ถูกทั้งหมดค่ะ เพราะในความเป็นจริงที่ไม่ค่อยมีใครรู้สักเท่าไร คือเราสามารถขอสินเชื่อบ้าน เพื่อนำเงินไปปลูกสร้างบ้านได้เช่นกัน โดยถ้ายิ่งมีที่ดินเป็นของตนเองด้วยแล้ว “แบบนี้กู้ได้ 100% เลยนะ” เท่ากับว่าเราไม่ต้องควักเงินจ่ายค่าปลูกสร้างบ้านเลย น่าสนใจขนาดนี้ ลองมาทำความรู้จักเลยค่ะ 1. มีแค่ที่ดินก็กู้สร้างบ้านได้           หากเรามีที่ดินแล้วต้องการกู้เงินเฉพาะค่าปลูกสร้างบ้านสามารถทำได้ค่ะ ซึ่งธนาคารจะพิจารณาวงเงินกู้ด้วยการประเมินมูลค่าบ้านจากแบบแปลนการก่อสร้างบ้านหรือที่เรียกว่า “แบบพิมพ์เขียว” และประเมินมูลค่าราคาที่ดินไปพร้อม ๆ กัน โดยวงเงินที่ให้กู้จะไม่เกิน 100% ของราคาค่าก่อสร้างบ้าน(ตามสัญญาว่าจ้าง) และไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน ที่ดินพร้อมบ้าน (กรณีกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมขอกู้ปลูกสร้างบ้าน วงเงินกู้จะได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายที่ดินรวมกับราคาค่าก่อสร้างตามสัญญาว่าจ้าง และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินที่ดินพร้อมบ้าน) แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูรายได้เปรียบเทียบกับภาระหนี้ประกอบด้วย ถ้าใครไม่มั่นใจอยากประเมินดูก่อนก็สามารถเข้าไปปรึกษากับทางธนาคารได้ค่ะ       ส่วนการให้เงินกู้ปลูกสร้างบ้านนั้น ธนาคารไม่ได้จ่ายให้ทั้งก้อนนะคะ เราจะได้รับเงินแบบทยอยรับเป็นงวด ๆ ตามผลงานการก่อสร้างที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ ซึ่งดอกเบี้ยก็ถูกทยอยคิดตามที่เราเบิกเงินกู้ไปนั่นเองค่ะ        ตัวอย่างเช่น งวดที่ 1 เบิก 200,000 บาท เมื่อวางผังและปรับพื้นตอกเสาเข็มเรียบร้อย จากนั้นสามารถเบิกงวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท เมื่อตั้งเสาและเทพื้นเสร็จเรียบร้อย ซึ่งในการเบิกเงินแต่ละงวด ธนาคารจะทำการประเมินความคืบหน้าของการก่อสร้างจริงว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้หรือไม่ค่ะ 2. เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นกู้           สำหรับการยื่นกู้ปลูกสร้างบ้านกับธนาคาร นอกจากจะต้องเตรียมเอกสารแสดงตน เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และเอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน รายการเดินบัญชี (Statement) แล้ว เรายังต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างอีกด้วยค่ะ ได้แก่                 • เอกสารสิทธิของที่ดิน (โฉนดที่ดิน) พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า                • แบบแปลนการก่อสร้าง (พิมพ์เขียว) สามารถจ้างสถาปนิกในการออกแบบ หรือใช้แบบมาตรฐานของหน่วยงานราชการในพื้นที่ก็ได้                • ใบอนุญาตก่อสร้าง แน่นอนว่าก่อนที่จะลงมือปลูกสร้างบ้านได้นั้น ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เช่น หากอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ก็สามารถยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างสำนักงานเขตในพื้นที่ หรือหากอยู่ในเขตภูมิภาค สามารถยื่นขอได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ซึ่งการขอใบอนุญาตก่อสร้างจะต้องมีแบบแปลนบ้านให้ตรวจสอบด้วย               • สัญญาว่าจ้างก่อสร้างกับผู้รับเหมา ต้องมีการระบุเงื่อนไขการเบิกเงินของผู้รับเหมาตามความคืบหน้าของการก่อสร้างบ้าน พร้อมมีรายละเอียด BOQ (Bill of Quantity) ซึ่งจะบอกว่าบ้านของเราใช้วัสดุอะไร มีมูลค่าเท่าไรในแต่ละรายการ เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องนอน พื้นปูด้วยกระเบื้อง ลามิเนต หรือปาร์เก้ ขนาดพื้นที่ใช้สอยเท่าไร เป็นต้น   3. ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม           ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมหลัก ๆ มีดังนี้ค่ะ  • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้าน เช่น   - ค่าใช้จ่ายในการออกแบบบ้าน หากใช้สถาปนิกในการออกแบบ ค่าออกแบบจะขึ้นอยู่กับการตกลงกันค่ะ โดยอาจคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าก่อสร้าง เช่น ค่าออกแบบ 5% ของค่าก่อสร้าง หรือ คิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาไปเลย เช่น ค่าออกแบบ 50,000 บาท เป็นต้น  ต้องบอกว่าการปลูกสร้างบ้านนั้นเราสามารถจัดการเองได้ทุกอย่างค่ะ แต่อาจจะยุ่งยากสักหน่อยและงบก็อาจบานปลาย การใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบบ้าน ขอใบอนุญาตก่อสร้าง ไปจนถึงการก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ จึงอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยคุมงบประมาณ รวมถึงดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ให้กับเราค่ะ • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการยื่นกู้ เช่น                     - ค่าสำรวจและค่าประเมิน คิดขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท                     - ค่าอากรแสตมป์สัญญาเงินกู้ 0.05% ของวงเงินกู้ (ไม่เกิน 10,000 บาท)                     - ค่าจำนอง 1 % ของวงเงินกู้ โดยหลักประกันที่จำนองกับธนาคารไม่ใช่แค่ตัวบ้านเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการจำนองที่ดินพร้อมบ้านที่เรากำลังจะก่อสร้างนั่นเองค่ะ                     - ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ซึ่งขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทุนประกัน มูลค่าทรัพย์สิน และระยะเวลาที่คุ้มครอง      มาถึงตรงนี้ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะสร้างบ้านแบบไหนดี เพราะไม่มั่นใจว่าจะได้วงเงินกู้สร้างบ้านเท่าไร ต้องลองให้เจ้าหน้าที่ธนาคารประเมินความสามารถในการกู้เบื้องต้นก่อน รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถปรึกษาได้กับธนาคารใกล้บ้านได้เลยค่ะ       หากท่านใดยังมองหาที่สวยๆสักแปลงในเกาะสมุย เพื่อจะปลูกบ้านในฝัน ทาง The Property Center มีที่สวยๆ ให้ท่านเลือกมากมาย ไปดูที่สวยๆ ตามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://www.thepropertycenter.asia/search- สรุปง่าย ๆ มีบ้านในฝันได้แค่มี3สิ่งข้างต้นนี้ 1.ที่ดิน มีที่ดินอยู่แล้วได้วงเงินไม่เกิน100%ของาคาก่อสร้างบ้าน และไม่เกิน90%ของราคาประเมินที่ดินพร้อมบ้าน ซื้อที่ดินพร้อมปลุกบ้าน ได้วงเงินไม่เกิน90%ของราคาซื้อขายที่ดินรวมกับค่าก่อสร้างบ้านและไม่เกิน90%ของราคา ประเมินที่ดินพร้อมบ้าน 2.เอกสารยื่นกู้ โฉนดที่ดิน พิมพ์เขียว ใบอนุณาก่อสร้างสัญญาว่าจ้างก่อสร้างผู้รับเหมา 3.ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้าง เช่น ค่าออกแบบบ้าน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการยื่นกู้ เช่น ค่าสำรวจและประเมินค่าอากรแสตมป์ ค่าจำนอง ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/loan/Pages/Home_A059.aspx?fbclid=IwAR2ui2W_nOFGeuDwmNGr2Ilo7nJQKVDMkosZUi0tSdYeVCV35HSg1HzVCNM